Last updated: 28 ก.พ. 2563 | 2285 จำนวนผู้เข้าชม |
1.สอนให้ลูกรู้จักการทักทายเป็นอย่างดี
พื้นฐานของการสื่อสารนั้นอยู่ที่ “การทักทาย” หากลูกสามารถทักทายผู้อื่นด้วยความนอบน้อมจนติดเป็นนิสัยแล้ว ไม่ว่าจะพบเจอใครก็รู้จักยกมือไหว้หรือโค้งพร้อมกล่าวทักทายจะทำให้เด็กดูน่าเอ็นดู น่าคบหาและสื่อถึงว่าได้รับการอบรมสั่งสอนมาอย่างดี และที่สำคัญการทักทายด้วยความนอบน้อมตั้งแต่แรกพบนั้นเป็นที่สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งเด็กที่มีนิสัยตรงนี้กับเด็กที่ไม่มีนั้น จะเกิดความแตกต่างกันเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การสอนให้รู้จักการทักทาย เริ่มต้นจากที่บ้าน เช่น เมื่อตื่นนอนพูดทักทายกับลูกว่า สวัสดีตอนเช้า ตอนกินข้าวพูดว่า “จะทานแล้วนะ” ก่อนนอนพูดว่า “ราตรีสวัสดิ์
2.สอนเรื่องกฎมารยาทในสังคม
การสอนเรื่องกฎมารยาทที่ต้องระวังในที่สาธารณะ เช่น รถบัส รถไฟ ออนเซน ฯลฯ เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับการทักทาย พื้นฐานการอบรมสั่งสอนนั้นอยู่ที่ครอบครัว ไม่ใช่ปล่อยเป็นหน้าที่ของทางโรงเรียน โดยการสอนเรื่องนี้อาจจะตั้งคำถามกับลูกว่า [อะไรที่ลูกไม่ชอบให้คนอื่นทำกับเรา] เมื่อลูกตอบว่าสิ่งไหนที่ไม่ชอบให้คนอื่นทำกับตัวเอง คุณแม่ก็จะได้โอกาสสอนและอธิบายว่าสิ่งนั้นคนอื่นก็อาจจะไม่ชอบให้เราทำกับเขาเช่นกัน ทั้งนี้วิธีการสอนและการอธิบายให้เขาเข้าใจนั้นต้องขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็กด้วย
3.สอนให้ลูกรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน
เนื่องจากอาหารมื้อเช้าถือเป็นอาหารมื้อสำคัญกว่ามื้ออื่นๆ การทานอาหารเช้าทุกวันจะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานและกระตุ้นพลังสมองช่วยในการเรียนรู้ กระตุ้นความจำและความกระตือรืนร้นทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมในหนึ่งวันได้อย่างเต็มที่ การทานอาหารเช้ายังช่วยเรื่องผลการเรียนของเด็กที่ทานอาหารเช้าได้ดีกว่าเด็กไม่ทานอาหารเช้าได้อีกด้วย คุณแม่จึงควรให้ลูกทานอาหารเช้าทุกวัน อาหารเช้าที่ดีควรเป็นประเภทข้าว หรือถ้าเป็นขนมปังก็ควรเป็นขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังจากแป้งข้าวเจ้า
4.ให้ลูกได้ลองประสบการณ์ที่หลากหลาย
สมมติว่า ขณะที่ลูกกำลังพยายามทำอะไรอยู่แล้วเกิดผิดพลาดขึ้น ตอนนั้นคุณแม่จะทำอย่างไรคะ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกกำลังจะยกแก้วน้ำขึ้นมาดื่ม แต่ดันทำน้ำหก คุณแม่จะหงุดหงิดโกรธหรือบ่นว่า “เอาอีกแล้วนะ(もう โม่ว)” หรือเปล่าคะ
ถ้าเป็นแบบนี้ คุณแม่ทราบไหมคะว่า สิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่นั้นคือ การที่เขากำลังเรียนรู้ที่จะเติบโตต่อไปอีกขั้น โดยถ้าเกิดเราไม่พอใจหรือดุด่าว่าในสิ่งที่ลูกทำผิดพลาด อาจจะเป็นการกีดกั้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของลูกโดยไม่รู้ตัวก็ได้ และอาจจะทำให้เขาไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือเมื่อทำผิดพลาดแล้วไม่พยายามที่จะทำให้สำเร็จ เพราะกลัวโดนดุก็เป็นได้สำหรับกรณีตัวอย่างนี้ คุณแม่ไม่ควรดุว่าลูกแต่ควรเช็ดน้ำที่หกและพูดให้กำลังใจลูกว่า “ครั้งหน้าทำได้แน่นอน และให้ลูกลองทำใหม่อีกครั้ง และเด็กที่รู้ว่า “แม้จะทำผิดพลาดก็ไม่เป็นไร ลองทำใหม่ได้ ” นั้นเป็นเด็กที่มีหัวใจที่แข็งแกร่ง การที่ลูกจะมีหัวใจที่แข็งแกร่งสู้กับปัญหาโดยไม่ย่อท้อได้นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่นะคะ
5.ผลักดันและส่งเสริมจุดเด่นในตัวลูก
พ่อแม่ควรส่งเสริมสิ่งที่ลูกชอบและมีความถนัด เพราะจะทำให้เขาสามารถพัฒนาได้เร็วและดีกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ
อย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงในโลกหลายคนก็ได้รับการจุดประกายความเป็นอัจฉริยะจากการที่พ่อแม่ผลักดันและส่งเสริมความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวจนประสบความสำเร็จว่าแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ลองสังเกตกันดูว่าลูกชอบหรือถนัดอะไร และน่าจะมีแนวโน้มเก่งด้านไหน เผื่อจะได้เป็นอัจฉริยะคนใหม่ในอนาคตก็เป็นได้นะคะ
6.แสดงความรักแบบไม่จำกัด
และรากฐานของนิสัยเช่นนี้เกิดจาก ความรักจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงดูลูกเพื่อให้เกิดความรู้สึกยอมรับในตัวเองสำหรับการแสดงความรักต่อลูก สามารถทำได้ด้วยการสัมผัส เช่น การโอบกอด การอุ้ม การหอมแก้ม ลูบหัวเป็นต้น วิธีแสดงความรักต่อลูกก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจใช้คำพูดว่า “รักลูกนะ” “ขอบคุณที่เกิดมาเป็นลูกแม่” ฯลฯ และควรพูดบ่อยๆ เช่น ตอนอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือก่อนนอน เป็นต้น
7. คุณแม่ก็ต้องมีความสุขด้วยเช่นกัน
มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่หมกมุ่นอยู่กับแต่เรื่องลูก คิดแต่เรื่องลูกจนลืมนึกถึงตัวเอง เรื่องของตัวเองเอาไว้ทีหลังจนทำให้ไม่ได้ผ่อนคลายจิตใจเท่าที่ควร ยิ่งคุณแม่ลูกเล็กด้วยแล้วล่ะก็ แทบจะไม่มีเวลาส่วนตัวหรือเวลาดูแลตัวเองเลยก็ว่าได้ แต่อันที่จริงแล้วหากคุณแม่ปรารถนาจะให้ลูกมีความสุข ก่อนอื่นคุณแม่ก็ต้องแสดงท่าทีให้ลูกเห็นว่าเรามีความสุขด้วยเช่นกัน
ฉะนั้นตัวคุณแม่เองก็ควรที่จะหาเวลาผ่อนคลายจิตใจบ้าง อาจจะเอาลูกไปฝากเนอสเซอรี่ชั่วคราวหรือฝากให้ญาติดูแลแทนสักครึ่งวันหรือ 1 วัน หลังจากนั้นคุณแม่ก็ไปช็อปปิ้ง เข้าร้านเสริมสวยหรือไปนวดผ่อนคลาย เพื่อทำให้ร่างกายและจิตใจกระชุ่มกระชวยแล้วค่อยกลับมาเต็มที่กับการเลี้ยงลูกต่อไปก็ได้
ขอบคุณเนื้อหาดีดี จาก Amarin baby
7 ต.ค. 2562
7 ต.ค. 2562
7 ต.ค. 2562